Sandee healthcare co. ltd.back support belt, health care products

     
    หน้าแรก
    เกี่ยวกับเรา
    เข็มขัดพยุงหลัง
    เสื้อตามหลังแบบกระชับ2ชั้น
    เข็มขัดพยุงหลังแบบมินิ
    เข็มขัดพยุงหลังLS
    เสื้อดามหลัง POSTURE
    ยางยืดรัดหน้าท้อง
    พยุงเข่า
    พยุงน่อง
    พยุงข้อเท้า
    ชุดกระชับสัดส่วน
    รองเท้าสุขภาพ
    ราคาขายปลีก/จ่ายเงิน/ส่งของ
    สั่งซื้อสินค้า online
    ติดต่อเรา
     
    หนังสือรับรองมาตรฐาน
    กระดูกสันหลัง
    ไม่ปวด ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย
    สาเหตุโรคปวดหลัง
    ทำไมถึงควรซื้อกับเรา
     


Sandee health care line id

Sandee health care facebook

Contact Sandee

  ThaiTH EnglishEN 
 

สาเหตุโรคปวดหลัง [บทความ]

 
สาเหตุการปวดหลัง

สาเหตุการปวดหลังที่แท้จริงอาจไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากเหตุใด แต่มักเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งหดเกร็งมากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะตึงหรือเครียด(strain) มากกว่าจะมีสาเหตุจากเส้นประสาท 

ลักษณะอาการของการปวดหลัง

หากคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่าง(low back pain) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกตึง ปวดหรือเมื่อยล้า อาการเจ็บปวดดังกล่าวจะเป็นอาการปวดหลังแบบธรรมดาหรือปวดหลังแบบไม่จำเพาะ (non-specific back pain) ซึ่งมักจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 วัน

อาการปวดหลังเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน (acute) และเรื้อรัง (chronic) ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นว่ามีอาการมานานเพียงใด ซึ่งแยกได้ดังนี้

  • อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (acute back pain) จะมีอาการไม่เกิน 6 สัปดาห์
  • อาการปวดหลังแบบกึ่งเฉียบพลัน ( sub-acute back pain) จะมีอาการระหว่าง 6 สัปดาห์ – 3 เดือน
  • อาการปวดหลังแบบเรื้อรัง (chronic back pain) จะมีอาการมากกว่า 3 เดือน

    สาเหตุของการปวดหลัง 

  • การยืน นั่งหรืองอหลังเป็นเวลานานๆ
  • การยก แบก ดันหรือดึงสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรือใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
  • นั่งรถเป็นเวลานาน หกล้มหรือตกจากที่สูง
  • มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวล
  • มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
  • นั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้อง

    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น

  • มีการแตกร้าวของกระดูกบริเวณหลัง
  • ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของกระดูกลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะเกิดการแตกร้าวได้ง่าย
  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (a slipped disc) เกิดขึ้นเมื่อหมอนรองกระดูกปูดหรือเคลื่อนตัวออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง
  • โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เกิดจากช่องว่างของกระดูกสันหลังแคบลง
  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis) เกิดจากกระดูกสันหลังเลื่อนไปด้านหน้าและเคลื่อนออกจากตำแหน่ง
  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (degenerative disc disease) เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมลง
  • โรคข้อเสื่อม(osteoarthritis) เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังฉีกขาดจากภาวะความเสื่อมตามเวลาที่ถูกใช้งาน
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นภาวะอักเสบของข้อต่อและบริเวณโดยรอบ อันเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่ผิดปกติ

    การวินิจฉัยการปวดหลัง

  • X-ray
  • CT scan เป็นวิธีตรวจที่ใช้การถ่ายภาพรังสีด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  • MRI scan เป็นวิธีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจเลือด วิธีการนี้ใช้สำหรับต้องการตรวจหาสาเหตุของการปวดหลังที่มีความจำเพาะเจาะจงเป็นพิเศษ

    การรักษาอาการปวดหลัง 

    การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

  • หากิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างเหมาะสมทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ดีกว่าใช้เวลานอนพักเพราะการนอนพักอยู่บนเตียงเฉยๆ จะยิ่งทำให้อาการปวดหลังแย่ลง
  • ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณที่ปวดหลัง โดยอาจหาซื้อแผ่นประคบได้จากร้านขายยา หรืออาจจะนำถุงน้ำแข็งหรือถุงถั่วแช่แข็งห่อด้วยผ้าอีกหนึ่งชั้นแล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดได้ โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำแข็งนั้นสัมผัสกับผิวโดยตรงเพื่อป้องกันผิวบริเวณนั้นถูกทำลาย

    การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด

    นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาและพัฒนาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยจัดรูปแบบวิธีการรักษาด้วยวิธีการออกกำลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

    แพทย์อาจจะส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดด้านต่างๆ เช่น การรักษาด้วยนักกายภาพบำบัด (physiotherapy)

    การจัดกระดูก (chiropractic)หรือการจัดกระดูกและเส้นเอ็น (osteopathy) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของการแพทย์ทางเลือก

    การผ่าตัด (Surgery)

    การผ่าตัดอาจจะมีความจำเป็นหากพบว่าอาการปวดหลังเกิดจากสาเหตุที่จำเพาะเจาะจงที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

    การป้องกันอาการปวดหลัง 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินหรือว่ายน้ำเป็นประจำ
  • พยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดต่างๆ
  • รักษาหลังให้ตรงอยู่เสมอ พยายามใช้ข้อเข่าและสะโพกแทนการงอหลัง
  • รักษาท่าทางให้ถูกต้องเหมาะสมอยู่เสมอ โดยเฉพาะหลัง อย่าให้อยู่ในท่าโค้งงอ

  •    
     

    บริษัท แสนดี เฮลท์แคร์ จำกัด
    63/1979 ถนนราษฎร์พัฒนา ซอยราษฎร์พัฒนา 5
    แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
    โทร.02-9171800, 02-010-3783 แฟกซ์ 02-5177567
    Email: info@sandeehealthcare.com, sandeehealthcare@gmail.com
    Web: http://www.sandeehealthcare.com
    All rights reserved © www.sandeehealthcare.com